หน่วยการเรียนที่ 8 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
• ปี ค.ศ. 1963 Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ริเริ่มโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารระยะไกล
• ได้ตั้งโครงการที่ชื่อว่าARPANET โดยเป็นโครงการวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
• เครือข่าย ARPANET ได้ถูกกปรับปรุงพัฒนาให้มีความสมบรูณ์ขึ้นเรื่อยๆและได้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา และองค์กรพาณิชย์
• จนพัฒนาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
• โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย
• โปโตคอล (Protocol)
• ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
• ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)
โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย
• อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ได้แก่
– ระบบเครือข่ายย่อย ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลหรือขององค์กรที่ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น LAN, MAN หรือ WAN
– ระบบโครงข่ายการสื่อสารเช่นโครงข่ายโทรศัพท์โครงข่ายFiber Optics หรือระบบดาวเทียมเป็นต้น
– เร้าเตอร์ (Router) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับจัดการเส้นทางจราจรของข้อมูลที่
ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต
Router
•เราท์เตอร์ (Router) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่มีหน้าที่จัดเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล จากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
• เราท์เตอร์สามารถจัดเส้นทางได้แบบพลวัต (Dynamic) หมายถึงการส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องส่งไปยังเส้นทางเดิมเสมอ
• ความสามารถพิเศษที่อาจมีได้คือ การเลือกกรอง (Filter) ข้อมูล ว่าจะให้ส่งผ่าน
เครือข่ายไปได้หรือไม่ซึ่งการเลือกกรองจะช่วยลดปัญหาความคับคั่งของการ
สื่อสารและการเพิ่มความปลอดภัยในเครือข่าย
โปโตคอล (Protocol)
• โปรโตคอลคือข้อตกลงที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารของระบบเครือข่าย
• เครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่ต้องการจะเข้าร่วมเครือข่ายจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในโปโตคอลของระบบเครือข่ายนั้น
• โปรโตคอลของอินเตอร์เน็ต เรียกว่าTCP/IP
– TCP (Transmission Control Protocol) ใช้สำหรับควบคุมรูปแบบการส่งข้อมูล ใน
อินเตอร์เน็ต
– IP (Internet Protocol) ใช้สำหรับควบคุม เกี่ยวกับการระบุตำแหน่งของหน่วยต่างๆที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
หลักการทำงานพื้นฐานของ TCP/IP
• การรับส่งข้อมูล
– มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าPackage
– แต่ละPackage จะมีการระบุส่วนหัว (Header) ซึ่งจะต้องระบุถึงที่หมายเลขที่อยู่(IP address) ของปลายทางและต้นทาง และข้อมูลอื่นๆ
– แต่ละPackage จะถูก ส่งไปในเครือข่ายซึ่งมีหลายเส้นทางที่จะไปถึงปลายทาง
– Router จะเป็นตัวจัดเส้นทางในการส่งPackages ไปยังโหนดถัดไป
– แต่ละPackage อาจไม่ได้ไปเส้นทางเดียวกันทั้งหมดหรืออาจไม่ไปถึงปลายทางพร้อมกันทั้งหมด
– เมื่อไปถึงปลายทางเครื่องปลายทางจะรวบรวม Package ทั้งหมดเข้ามาแล้ว คืนสภาพกลับมาเป็นข้อมูลเดิม
IP Address
• หมายเลขไอพี (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะต้องกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออปุกรณ์เครือข่ายเช่น เครื่องเราท์เตอร์โดยไม่ให้ซ้ำกัน
• แต่ละเครี่องจะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสองจำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุดโดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต แต่เพื่อความสะดวกในการจดจำมักจะเขียนในรูปฐานสิบ
การจัดสรรหมายเลข IP
• ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชันที่ 4 (IPv4) ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255
• หมายเลขถูกจัดกลุ่มไว้5คลาสดั้งนี้
Domain Name
• การจดจำหมายเลข IP เป็นเรื่องยากดังนั้นจึงมีการสร้างระบบชื่อขึ้น เพื่อง่ายต่อการจดจำคือระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
• ตัวอย่างของชื่อโดเมน www.nu.ac.th ซึ่งมีรูปแบบที่จำง่ายและสามารถเข้าใจความหมายได้ง่าย
ความหมายของชื่อโดเมน
ความหมายของซับโดเมน
Domain Name ระดับประเทศ
นายทะเบียน (Registrars)
• InterNIC คือองค์กรซึ่งทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักคอยกำกับควบคุมการจดชื่อโดเมน เพื่อไม่ให้มีชื่อที่ซ้ำซ้อนเกิดขึ้น
• InterNIC ได้มอบหมายให้บริษัทเอกชนต่างๆ ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนรับจดทะเบียนชื่อโดเมน
• ซึ่งเจ้าของชื่อโดเมนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอจดทะเบียนเป็นรายปี
Domain Name Server
• Domain Name Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บชื่อโดเมนและระบุหมายเลข IP ของชื่อโดเมนนั้นเพื่อให้แจง้ให้กับเครื่องอื่นที่มาขอบริการทราบ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)
• ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) คือผู้ที่ลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และขายบริการในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ใช้บริการซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปหรือองค์กร
• ISP จะได้รับค่าตอบแทนจากค่าบริการที่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายให้
• อัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่ประเภทของบริการที่ผู้ใช้ซื้อ
• ในประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลายรายเช่น TOT, Internet Thailand, True Internet, Internet KSC, LoxInfo และอื่นๆ
การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ
• ผ่านทางวงจรเช่า (Leased line)
– ผู้ใช้บริการขอซื้อบริการเครือข่ายจาก ISP โดยช่องทางการสื่อสารนั้นผู้ใช้บริการจะมีสิทธิได้ใช้เพียงรายเดียวไม่ต้องใช้ร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่นซึ่งจะได้รับบริการอย่างเต็มที่และมีความปลอดภัยสูง
• ผ่านทางระบบโทรศัพ์ทพื้นฐาน
– ใช้โครงข่ายของโทรศัพท์เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณไปยัง ISP
– สัญญาณโทรศัพท์เป็นสัญญาณแบบอนาล็อกดังนั้นจะต้องใช้MODEM ใน
การแปลงสัญญาณจึงจะสามารถส่งผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ได้
Modem
• MODEM (Modulate and Demodulate) คืออปุกรณ์ที่ทำการแปลงสัญญาณ ดังนี้
– แปลงจาก Digital เป็น Analog
– แปลงจาก Analog กลับไปเป็น Digital
• MODEM ในปัจจุบันเป็นแบบ DSL MODEM ซึ่งมีการแบ่งช่องสัญญาณเป็น
– ช่องสัญญาณสำหรับการสนทนาโทรศัพท์และ
– ช่องสัญญาณสำหรับการรับและส่งข้อมูล
• สามารถคุยโทรศัพท์ได้ในขณะใช้อินเตอร์เน็ต
• ADSL คือ MODEM ที่มีการกำหนดความเร็วในการรับและส่งไม่เท่ากัน
ADSL MODEM
การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ
• ผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย
– คือการใช้ช่องสัญญาณของระบบโทรศัพท์ไร้สายเชื่อมต่อไปยัง ISP
– ปกติผู้ให้บริการโทรศัพท์ไร้สายจะให้บริการอินเตอร์เน็ตด้วย
– ผู้ใช้บริการโทรศัพท์จะต้องขอเปิดบริการอินเตอร์เน็ตและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม
3G
• 3G คือมาตรฐานการสื่อสารของโทรศัพท์ไร้สายที่กำหนดโดย International Telecommunication Union ได้ระบุถึงบริการในการรับส่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความเร็วสูง
• บริการบนระบบ 3G ได้แก่ VDO Conference, High Speed Internet เป็นต้น
• ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของระบบ 3G
– 14.0 Mbit/s (1.75 MB/s) ในการ download
– 5.8 Mbit/s (0.725 MB/s) ในการ upload
• ปัจจุบันประเทศไทยยังจัดสรรคลื่น 3G ไม่เสร็จเลยเป็นประเทศที่เกือบล้าหลังที่สุดในเอเชียในด้านเทคโนโลยี 3G (มีแนวโน้มว่าไทยจะไม่เอา 3G แล้ว แต่จะเอา 3.9G ไปเลย)
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
• โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ (Web Application)
• สังคมออนไลน์ (Social Networking)
• ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
• สนทนา (Chat)
• อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
• การติดตามข่าวสาร
• การสืบค้นข้อมูล
• การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
• การอับโหลดและดาวโหลดข้อมูล
• การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
• การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
• การเรียนออนไลน์ (e-Learning)
• การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
• โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
• อื่นๆ
บริการต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• FTP (File Transfer Protocol)
• Email
• IM (Instant Messaging)
• WWW
FTP (File Transfer Protocol)
• FTP คือมาตรฐานโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายข้อมูลบนเครือข่ายแบบ TCP/IP
• ลักษณะการทำงานเป็นแบบ Client-Server
• ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลส่งไปเก็บหรือเรียกกลับมาจากเครื่อง Server ได้
• จำเป็นต้องอาศัย Software ที่ทำงานตาม FTP
Email
• อีเมล คือการสื่อสารบนระบบเครือข่ายในรูปแบบจดหมายอีเล็คโทรนิค ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารในแบบ Store and Forward
• ผู้ส่งจะส่งจดหมายไปเก็บไว้ยัง Mail Server ของผู้รับโดยระบุชื่อตำแหน่งอีเมล เช่น
xman@hero.com เป็นต้น
• ผู้รับจะต้องเข้าไปเช็คจดหมายของตนบน Mail Server
• ผู้รับสามารถส่งต่อ (Forward) ไปยังผู้รับรายอื่นได้
• โปรโตคอล ที่ใช้สำหรับอีเมลคือ SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
IM (Instant Messaging)
• IM คือรูปแบบการสนทนาแบบ real time ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลการสนทนามักจะเป็นการส่งข้อความ ภาพ หรือ สื่ออื่นๆ ระหว่างผู้สนทนา
• ผู้ให้บริการ IM
– MSN Messenger
– Yahoo Messenger
– Google Talk
– Facebook
– Camfrog
– Etc.
บริการ WWW (World Wide Web)
• WWW (World Wide Web)
– เอกสาร Hypertext ที่เก็บบนเครื่อง Web Server และต้องทำการอ่านด้วย Web Browser
– นอกจากเอกสาร Hypertext แล้วในปัจจุบัน Web Server ยังสามารถสนับสนุนการแสดง Multimedia และการเชื่อมต่อของโปรแกรมๆ (Plug-in) อื่นได้อีกด้วย
• Web Browser ที่ใช้ในปัจจุบัน
– Windows Internet Explorer, Mozilla-Firefox, Apple Safari, Google Chrome, and Opera.
หลักการพื้นฐานของ WWW
มาตราฐานหลักที่ใช้ใน WWW
• Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
• Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์
• Hypertext Markup Language (HTML) เป็นภาษากำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
URL (Universal Resource Locator )
• URL ใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการและมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา
HTTP และ HTML
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น